Forum in “Asia-Pacific Futures Network Conference” (AFPN) 2019

 1 ตุลาคม 2562

เก็บตกงานประชุมวิชาการด้านอนาคตศาสตร์ APFN 2019 กับประเด็นจากเวทีอภิปรายใน 2 หัวข้อหลัก ได้แก่

1. The Future of ASEAN and Its Neighbors

2. Window of Futures of Culture, Technology and Security

==========

The Future of ASEAN and Its Neighbors

==========

  • มีการทำนายไว้ว่า ในปี 2030 จะเกิดการเปลี่ยนแปลง (Phase change) ในภูมิภาคอาเซียน ที่จะมี 3 รูปแบบโดยอิงตามทฤษฎีของนักเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ (1) Ricardo - ทฤษฎีดินแดนใหม่ (new territory model) (2) Schumpeteria - การทำลายเพื่อสร้างใหม่ (Creative destruction model) และ (3) Malthusian - การขาดแคลนของอาหารเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร (Not enough for everybody)

  • เตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง โดยให้ความสำคัญเกี่ยวกับการมองอนาคต ตระหนักให้ทุกหน่วยงานและองค์กรต่างๆ คิดถึงอนาคตที่จะเกิดขึ้น

  • แบ่งปันวิสัยทัศน์ให้สังคมและให้กันและกัน โดยเน้นการพัฒนานโยบายเพื่อตอบโจทย์สำหรับทุกคนในสังคม และอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐ เอกชนและประชาชน

  • การคิดเชิงอนาคตจะมีบทบาทต่อองค์กรธุรกิจมากขึ้น แต่อย่าใช้กระบวนการทางความคิดอย่างคอมพิวเตอร์ พยายามเน้นให้เกิดการเชื่อมต่อรูปแบบ (don’t be computer, but connect pattern)

  • เปรียบเทียบอนาคตของภูมิภาคอาเซียนไว้ว่าเหมือน "Opening a Box of Chocolate" ที่ทุกๆ สิ่งสามารถจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

==========

Window of Futures of Culture, Technology and Security

==========

  • ปัจจัยขับเคลื่อนหลัก 8 ตัว ที่จะผลักดันเราไปสู่อนาคตปี 2030 ได้แก่ จำนวนประชากร (Population) เทคโนโลยี 5G (5G Technology) พลังงานทดแทน (Renewable energy) ความชรา (Aging) ระบบอัตโนมัติ (Automation) การบริโภค (Consumption) การก่อสร้าง (Construction) และการเงินและความมั่งคั่ง (Finance and wealth)

  • เทคโนโลยีจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ โดยมีเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (Bio Tech) เทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง (Neuro Tech) เทคโนโลยีสีเขียว (Green tech) และเทคโนโลยีดิจิตัล (Digital Tech)

  • Digital transformation เกิดขึ้นในทุกพื้นที่และในทุกด้าน และเทคโนโลยี AI จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเรา ตัวอย่างเช่น องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (Interpol) มีการจัดตั้งหน่วย Foresight ในองค์กรเพื่อ คาดการณ์อนาคต เก็บและแบ่งปันข้อมูล (sharing and curating) ตรวจสอบ ประเมินและคัดกรอง (reviewing and refining) ดำเนินการเสาะหาบุคคล (seeking and searching) การสอบสวน (acting and thinking)

  • ปัญหาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เป็นเหมือนปัญหาที่รอการปะทุ โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลัก 8 ตัว ได้แก่ Population Growth, Economic Growth, Increasing Middle-class, Increasing Travel, Increasing Resource Consumption, Land-use Change, Decreasing Biodiversity และ Climate Change ที่จะส่งผลให้เกิดการคุกคามทางความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity threats) และมีโอกาสที่ทำให้เกิดโรครุนแรงชนิดใหม่ (disease)

#APFN2019 #IFI #FuturistNetwork #AnadaDevelopment #ADB