สหรัฐอเมริกาในยุค โจ ไบเดน กับการสร้างพันธมิตรห่วงโซ่อุปทานเทคโนโลยี (Tech Supply Chain) เพื่อต่อกรกับ “จีน”

2 มีนาคม 2564

สหรัฐอเมริกาในยุค โจ ไบเดน กับการสร้างพันธมิตรห่วงโซ่อุปทานเทคโนโลยี (Tech Supply Chain) เพื่อต่อกรกับ "จีน"

.

สถานการณ์ห่วงโซ่อุปทานเทคโนโลยที่เกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนประกอบสำคัญอย่าง ชิป (Chips) ที่ทำหน้าที่ ประมวลผล เก็บข้อมูล และส่งข้อมูล โดยมีองค์ประกอบหลัก คือ สารกึ่งตัวนำหรือที่เรียกกันว่า เซมิคอนดักเตอร์ กำลังมีความเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อุปทานซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

.

------------------------------------

  • เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ประธานาธิบดีโจไบเดนของสหรัฐฯ กำหนดลงนามคำสั่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา (Executive orders) เพื่อเร่งรักษาห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) เชิงกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ชิป (Chips) และผลิตภัณฑ์สำคัญอื่นๆ เพื่อลดการพึ่งพาจีนในความร่วมมือกับภาคีอย่างไต้หวัน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

  • เนื้อหาคำสั่งจะระบุถึงการพัฒนากลยุทธ์ในการจัดการห่วงโซ่อุปทานระดับชาติ และคาดหวังที่จะเรียกร้องให้มีข้อเสนอแนะจากเครือข่ายในห่วงโซ่อุปทานที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าจากสภาวะภัยคุกคามต่างๆ อาทิ จากอุบัติภัยอุบัติเหตุและการคว่ำบาตรจากประเทศที่ไม่เป็นพันธมิตร โดยมาตรการจะมุ่งไปที่ผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์ (semiconductor) แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (electric-vehicle batteries) แร่โลหะหายาก (rare earth metals) ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ (medical products) (อ้างอิงตามข้อมูลที่ Nikkei ได้รับ)

  • ภายใต้คำสั่งดังกล่าวเน้นให้ความสำคัญ คือการทำงานร่วมกับพันธมิตรจะสามารถนำไปสู่การสร้างความแข็งแกร่งและความยืดหยุ่นในห่วงโซ่อุปทานได้ ทำให้เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะเป็นแกนกลางของแผนนี้ คาดว่าจะร่วมมือกับไต้หวัน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ในการผลิตชิป และในด้านการผลิตหาแร่โลหะหายากจะร่วมมือกลุ่มเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกรวมถึงประเทศออสเตรเลีย

  • สหรัฐมีแผนจะแลกเปลี่ยนข้อมูลเครือข่ายซัพพลายผลิตภัณฑ์สำคัญและพยายามจะยกระดับการผลิตเสริม โดยกำลังเร่งพิจารณากรอบการทำงาน ทั้งนี้อาจจะมีกรณีการสำรองสต๊อกและเตรียมกำลังการผลิตสำรอง ซึ่งประเทศพันธมิตรอาจจะถูกร้องขอให้ทำธุรกิจกับประเทศจีนน้อยลง ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดการขาดแคลนชิปทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตรถยนต์อย่างหนักในปีนี้

  • ตามข้อมูลของ Boston Consulting Group ส่วนแบ่งการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกของสหรัฐฯ ลดลงเหลือเพียง 12% จาก 37% ในปี 1990 ตอนนี้ไต้หวันติดอันดับต้นๆ ของโลกในการผลิตชิปมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 22% แต่ Boston Consulting คาดการณ์ว่าจีนจะเป็นผู้นำในการผลิตภายในปี 2030 ด้วยส่วนแบ่ง 24%

  • ทั้งนี้ การพึ่งพาผลิตภัณฑ์จากจีนมากเกินไปก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการขาดระบบรักษาความปลอดภัย เห็นได้จากกรุงปักกิ่งได้เคยใช้กฎข้อบังคับกดดันประเทศคู่ค้า อาทิ ในปี 2010 จีนเคยงดส่งออกแร่โลหะหายากหรือแร่แรร์เอิร์ท (rare earth) ไปยังประเทศญี่ปุ่นจากกรณีพิพาทพื้นที่หมู่เกาะในทะเลจีนตะวันออก ซึ่งญี่ปุ่นเรียกว่า Senkaku แต่จีนเรียกว่า Diaoyu ขณะที่ปัจจุบันสหรัฐเองมีการนำเข้าแร่หายากจากจีน 80% และพึ่งพาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์จากจีนเช่นเดียวกันมากถึง 90%

  • แม้ว่าการปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานมีแนวโน้มจะใช้ระยะเวลาพอสมควร โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เนื่องจากผู้ผลิตชิปในโลกมีจำนวนจำกัดจึงมีอำนาจในการตัดสินใจในการร่วมมือกับสหรัฐ ซึ่งขณะนี้สหรัฐกำลังตรวจสอบแยกแยะส่วนของอุปทานเซมิคอนดักเตอร์และแร่หายากอยู่ที่ประเทศใดบ้าง ซึ่งอาจจะทำให้สหรัฐยกเลิกมาตราการตอบโต้ทางการค้ากับพันธมิตร

  • เริ่มจากการวางรากฐานร่วมประเทศที่มีเทคโนโลยีที่มีคุณค่าและทรัพยากร อาทิ ไต้หวัน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ในการร่วมปลดล๊อกห่วงโซ่อุปทานจากจีน เห็นได้จากความร่วมมือทางเทคโนโลยีกับประเทศไต้หวันได้ลงนามโดย Taiwan Semiconductors Manufacturing Company Ltd. (TSMC) ผู้ผลิตชิปชั้นนำของโลกตกลงที่จะสร้างโรงงานผลิตในรัฐแอริโซนา โดยคาดว่าจะมีการลงทุน 12 พันล้านดอลลาห์ กำหนดเปิดตัวในปี 2024 ซึ่งมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ทวิภาคี

  • ญี่ปุ่นก็พยายามที่จะดึงดูด TSMC เข้ามาในประเทศนอกจากการสร้างเครือข่ายในรูปแบบพันธมิตรสามฝ่าย และยังจัดหาแหล่งผลิตชิปล้ำสมัย cutting-edge chips ที่ปลอดภัยสำหรับญี่ปุ่นในอนาคต

  • ขณะที่สหรัฐฯ และออสเตรเลียมีความร่วมมือในการสร้างโรงงานแปรรูปแร่หายากในรัฐเท็กซัสโดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงการครอบงำของจีน

-----------

#Futuresupplychain #semiconductor

 

อ้างอิง : https://asia.nikkei.com/Politics

https://youtu.be/vIcDqs5GLNw

https://youtu.be/rVlQqMomojw