Role

สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม (Innovation Foresight Institute: IFI)

การมองอนาคต (Foresight) ได้รับการยอมรับในหลายประเทศว่าเป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางการพัฒนาเพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงระยะยาว และมักถูกนำมาใช้ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (S&T) แบบ มุ่งเป้า เพื่อการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

การมองอนาคตจึงมีส่วนสำคัญสำหรับการกำหนดทิศทางการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบรับความเปลี่ยนแปลง และแก้ปัญหาอนาคต รวมถึงการจัดทำนโยบายการพัฒนาข้อเสนอแนะ และการตัดสินใจในเชิงนโยบายนวัตกรรม ให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง ในหลายประเทศการมองอนาคตถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายเพื่อระบุความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน อาทิ หน่วยงาน Innovate UK (UK), SITRA (Finland), Centre for Strategic Futures - CSF (Singapore)

ด้วยเหตุนี้ สถาบันการมองอนาคตนวัตกรรม (IFI) จึงมีเป้าหมายเพื่อเป็นสถาบันเฉพาะทางสำหรับการมองอนาคตทิศทางนวัตกรรมที่สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ในอนาคต

บทบาทสถาบัน

“สถาบันเฉพาะทางเพื่อมองอนาคตทิศทางนวัตกรรมที่สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ในอนาคต”

เป้าหมายสถาบัน

1. ติดตามและระบุทิศทางอนาคตของความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ (Long-view Society)

2. สนับสนุนและพัฒนาเครือข่ายนักอนาคตศาสตร์ เพื่อช่วยยกระดับความสามารถด้านอนาคตศาสตร์ของประเทศ (Community Advocate)

3. ส่งเสริมการนำข้อมูลด้านอนาคตศาสตร์ไปใช้กำหนดข้อเสนอแนะ นโยบายและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่สอดรับความเปลี่ยนแปลง (Innovation Informatics)

4. ส่งเสริมให้เกิดการใช้เครื่องมือด้านอนาคตศาสตร์ในการวางแผนและออกแบบกลยุทธ์ในองค์กร (Future Design)

แนวทางการดำเนินงาน

สถาบันฯ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาและสร้างเครือข่ายนักอนาคตศาสตร์ (Future Force)

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การศึกษาและพัฒนาแนวโน้มอนาคต (Future Scene)

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมการใช้เครื่องมือนวัตกรรมเพื่อวางแผนอนาคตในภาคธุรกิจ (Future Enterprise)

 

 

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาและสร้างเครือข่ายนักอนาคตศาสตร์ (Future Force)

การพัฒนาและสร้างเครือข่ายนักอนาคตศาสตร์ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและสร้างเครือข่ายกลุ่มนักอนาคตศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและเข้มแข็ง โดยคาดว่าจะมีเครือข่ายนักอนาคตศาสตร์ที่ช่วยขับเคลื่อนกิจกรรม และสร้างความตระหนักในบุคคลทั่วไป ซึ่งการดำเนินงานในส่วนนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1. Futurist Network – การพัฒนาเครือข่ายนักอนาคตศาสตร์

2. Futurist Tools Box – การพัฒนาเครื่องมือด้านอนาคตศาสตร์

3. Future Talk – การสื่อสารและสร้างการรับรู้กับบุคคลทั่วไป

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การศึกษาและพัฒนาแนวโน้มอนาคต (Future Scene)

การศึกษาและพัฒนาแนวโน้มอนาคต มีเป้าหมายเพื่อศึกษาและพัฒนาแนวโน้มอนาคตที่สร้างผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง โดยคาดว่าจะสามารถระบุแนวโน้มอนาคตที่สะท้อนความเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงเศรษฐกิจและสังคมได้ ซึ่งการดำเนินงานในส่วนนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1. Future Ideas – การนำเสนอมุมมองอนาคตสำหรับประเด็นเป้าหมาย

2. Future Challenges – การศึกษาแนวโน้มอนาคต

3. Future Space – การพัฒนาภาพอนาคต

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมการใช้เครื่องมือนวัตกรรมเพื่อวางแผนอนาคตในภาคธุรกิจ (Future Enterprise)

การส่งเสริมการใช้เครื่องมือนวัตกรรมเพื่อวางแผนอนาคตในภาคธุรกิจ มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจพัฒนาศักยภาพทางนวัตกรรมด้วยเครื่องมือ โดยคาดว่าจะสามารถสนับสนุนภาคธุรกิจด้วยเครื่องมือการจัดการนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการดำเนินงานในส่วนนี้แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่

1. Innovation Index – การพัฒนาและส่งเสริมการใช้เครื่องมือนวัตกรรม

2. Innovation Audit – การพัฒนาเครือข่ายการประเมินนวัตกรรม

3. Innovation Solution – การให้บริการคำปรึกษาและแก้ปัญหา

4. Innovation Informatics – การพัฒนาสารสนเทศนวัตกรรม