มารู้จักกันดีกว่า ว่าประเทศไทยอยู่ตรงไหนของ GII อาเซียน

 14 กรกฎาคม 2561


มารู้จักกันดีกว่า ว่าประเทศไทยอยู่ตรงไหนของ GII อาเซียน

อย่างที่ทราบก่อนหน้านี้ ว่าประเทศไทยสามารถขยับขึ้นถึง 7 อันดับ จากการประกาศรางวัล Global Innovation Index ปี 2018 โดยทยานขึ้นสู่อันดับ 44 จนถูกหยิบยกให้อยู่ในกลุ่มประเทศ “Innovation Fast Move” ส่วนหนึ่งที่อันดับก้าวกระโดดในภาพรวมมาจากการปรับตัวดีขึ้นในกลุ่มปัจจัยเข้าทางนวัตกรรม จากเดิมอันดับที่ 65 เลื่อนขึ้นเป็น 52 ส่วนกลุ่มปัจจัยผลผลิตทางนวัตกรรมปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากเดิมอันดับที่ 43 เป็นอันดับที่ 45 ประเทศไทยมีจุดเด่นในปัจจัยด้านระบบตลาด (Market Sophistication) ปัจจัยผลผลิตจากองค์ความรู้และเทคโนโลยี (Knowledge & Technology Outputs) และ ปัจจัยผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ (Creative Outputs) สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของผู้ประกอบการภาคเอกชนไทย และการขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 ผ่านมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในผู้ประกอบการนวัตกรรม

ขณะที่ประเทศสิงคโปร์มาปีนี้ขยับเข้าสู่ Top Five ได้สำเร็จ โดยจุดแข็งของประเทศสิงคโปร์อยู่ที่กลุ่มปัจจัยขาเข้าด้านนวัตกรรม (Innovation input sub-index) ที่เป็นอันดับ 1 โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยด้านสถาบัน (Institutions) และปัจจัยด้านทุนมนุษย์และวิจัย (Human capital & research) ประกอบกับประเทศสิงคโปร์ในช่วงที่ผ่านมาสามารถขยับอันดับในกลุ่มปัจจัยผลผลิตด้านนวัตกรรม (Innovation output sub-index) ได้อย่างต่อเนื่อง

ส่วนที่ไม่พูดถึงไม่ได้คงเป็นเวียดนาม เพราะในปี 2017 สามารถขยับอับดับขึ้นได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจถึง 12 อันดับ และในปีผ่านมาปรับเพิ่มขึ้นอีก 2 อันดับ โดยมีประสิทธิภาพด้านนวัตกรรม (Innovation Efficiency Ratio) ที่สูง แสดงให้เห็นว่าถึง แม้ประเทศเวียดนามจะมีองค์ประกอบในกลุ่มปัจจัยขาเข้าด้านนวัตกรรมไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่ก็สามารถมีผลผลิตนวัตกรรมออกมาได้ในระดับดี

#สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ #NIA #นวัตกรรม #innovation #ดัชนีนวัตกรรมโลก #Globalinnovationindex2018 #gii #IFI #InnovationIndex #GII2018 #WIPO