11 กรกฎาคม 2561
GLOBAL INNOVATION INDEX คือ???
ดัชนีนวัตกรรมโลก (GII) หรือ Global Innovation Index ได้รับการจัดทำร่วมกันโดยมหาวิทยาลัย Cornell สถาบัน INSEAD และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization-WIPO) โดยมุ่งเน้นการวัดศักยภาพด้านนวัตกรรมในมุมมองแตกต่าง จากดัชนีความสามารถในการแข่งขันของสถาบันอย่าง WEF และ IMD ที่วัดศักยภาพทางนวัตกรรมผ่านมาตรวัดแบบดั้งเดิม อาทิ จำนวนบทความการวิจัย สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา ซึ่งปีนี้อับดับของประเทศไทยขยับไกลถึง 7 อันดับ
#สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ #สนช #nia #นวัตกรรม #innovation #innovator #gii
#globalinnovationindex2018 #IFI #InnovationIndex #GII2018 #WIPO
ดาวน์โหลด PDF
ปี 2018 ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับความสามารถด้านนวัตกรรมอยู่อันดับที่ 44 ขยับอันดับดีขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากปีที่แล้ว 7 อันดับ เรียกว่าเป็น “Innovation Fast Move” โดยในปีนี้ประเทศไทยมีการปรับตัวดีขึ้นด้านปัจจัยเข้าทางนวัตกรรม (Innovation input sub-index) จากเดิมอันดับที่ 65 เลื่อนขึ้นเป็นอันดับที่ 52 ส่วนปัจจัยย่อยผลผลิตทางนวัตกรรม (Innovation output sub-index) ปรับตัวลดลงเล็กน้อย 2 อันดับ จากปี 2017 สำหรับประสิทธิภาพนวัตกรรมจากการแปลงปัจจัยเข้าทางนวัตกรรมเป็นผลผลิตนวัตกรรมอันดับต่ำกว่าปีที่แล้ว แต่สูงกว่าปี 2016 เมื่อเปรียบเทียบอันดับ GII ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางประเทศไทยอยู่อันดับ 5 จาก 34 ประเทศ และอยู่อันดับ 9 ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากคะแนนตัวชี้วัดความสามารถทางด้านนวัตกรรมของประเทศไทยปีนี้มีคะแนนสูงขึ้น 6 ปัจจัยเสาหลัก จาก 7 ปัจจัยเสาหลัก โดยเฉพาะปัจจัยด้านระบบของตลาด (Market Sophistication) มีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพในด้านเครดิตภายในประเทศที่มีต่อภาคเอกชน (Domestic Credit to Private Sector) การคุ้มครองผู้ลงทุน (Ease of protecting minority investors) การลงทุนในตลาด (Market capitalization) และขนาดตลาดภายในประเทศ นอกจากนี้ประเทศไทยมีจุดแข็งปัจจัยด้านระบบธุรกิจ (Business Sophistication) ในเรื่องของการทำ R&D ที่มีแหล่งเงินจากธุรกิจการนำเข้าสินค้าไฮเทค รวมถึงมีตัวชี้วัดโดดเด่นด้านการแสดงผลงานด้านความรู้และเทคโนโลยี และการส่งออกสินค้าสร้างสรรค์
ขณะที่ตัวชี้วัดที่ประเทศไทยยังมีข้อด้อยส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างปัจจัยเข้าทางนวัตกรรม อาทิเช่น อัตราส่วนของครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษา (Pupil-Teacher Ratio, Secondary) สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ (Regulatory Environment) และ การนำเข้า-การส่งออก การบริการด้าน ICT (ICT Services Imports and Exports)
หากเปรียบเทียบอันดับดัชนีนวัตกรรมโลกในกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศสิงคโปร์
อยู่อันดับที่ 5 สูงสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(South-east Asia) เอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย (East Asia and Oceania)
ขณะที่ประเทศมาเลเซียซึ่งถือเป็นประเทศในกลุ่มรายได้ปานกลางระดับบน
(Upper-Middle income) เช่นเดียวกับประเทศไทยอยู่อันดับที่ 35 สำหรับประเทศ
เวียดนามปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากอันดับที่ 47 ในปี 2017 เป็นอันดับที่
45 และมีอันดับดัชนีประสิทธิภาพของการพัฒนานวัตกรรม (Innovation Efficiency Index)
ที่ดีขึ้นอย่างขึ้นเจน จากการใส่ปัจจัยเข้าทางนวัตกรรมออกเป็นผลผลิตทางนวัตกรรม
สำหรับการให้คะแนนดัชนี GII อาศัยตัวชี้วัดทั้งสิ้น 82 ตัวชี้วัด เพื่อวัดปัจจัยย่อยในมิติต่างๆ โดยประกอบด้วยดัชนีย่อย 2 กลุ่ม ได้แก่
-
ดัชนีย่อยปัจจัยเข้าทางนวัตกรรม (Input)
-
ปัจจัยด้านสถาบัน (Institution)
-
ปัจจัยด้านทุนมนุษย์และการวิจัย (Human capital and research)
-
ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)
-
ปัจจัยด้านระบบตลาด (Market Sophistication)
-
ปัจจัยด้านระบบธุรกิจ (Business Sophistication)
2.ดัชนีย่อยผลผลิตทางนวัตกรรม (Outputs)
-
ผลผลิตจากองค์ความรู้และเทคโนโลยี
(Knowledge and Technology Outputs)
-
ผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ (Creative Output)